ข้อมูลทั่วไป
-
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน องค์การบริหารส่วนตำบลปริก
ที่ตั้ง
สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลปริก ตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ ๔๔๔ หมู่ที่ ๑ ถนนกาญจนวนิช ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา รหัสไปรษณีย์ ๙๐๑๒๐ โทรศัพท์ ๐-๗๔๒๙-๘๒๑๓ โทรสาร ๐-๗๔๒๙-๘๒๑๔ เว็บไซต์ www.tambonprik.go.th
ขนาดพื้นที่และอาณาเขต
องค์การบริหารส่วนตำบลปริก มีพื้นที่ ๑๖๔.๒๐ ตารางกิโลเมตร หรือ ๑๐๒,๖๑๙.๕๐ ไร่ ห่างจาก อำเภอสะเดา ๙ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลและอำเภอใกล้เคียงดังต่อไปนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อบต.พังลา อ.สะเดา จ.สงขลา
ทิศใต้ ติดต่อกับ เทศบาลเมืองสะเดา และ อบต.สำนักแต้ว อ.สะเดา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อบต.คลองทรายและอบต.ปลักหนู อ.นาทวี จ.สงขลา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อบต.ทุ่งหมอ และ อบต.ปาดังเบซาร์
เขตการปกครอง
แบ่งการปกครองออกเป็น ๑๑ หมู่บ้าน โดยมีพื้นที่เต็มทั้งหมู่บ้าน จำนวน ๕ หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ ๑ บ้านใหม่
หมู่ที่ ๘ บ้านหัวถนน
หมู่ที่ ๙ บ้านยางเกาะ
หมู่ที่ ๑๐ บ้านควนเสม็ด
หมู่ที่ ๑๑ บ้านบางแห้ง
และมีพื้นที่บางส่วนอีกจำนวน ๖ หมู่บ้าน (เนื่องจากพื้นที่บางส่วนติดเขตเทศบาลตำบลปริก) ได้แก่
หมู่ที่ ๒ บ้านลุ่มอ้อย
หมู่ที่ ๓ บ้านป่าง่าม
หมู่ที่ ๔ บ้านตะเคียนเภา
หมู่ที่ ๕ บ้านสวนหม่อม
หมู่ที่ ๖ บ้านต้นเลียบ
หมู่ที่ ๗ บ้านต้นสะท้อน
-
ตำบลปริก เป็นที่ตั้งกิ่งอำเภอปริก ขึ้นกับเมืองไทรบุรี ต่อมาได้แบ่งเขตประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ที่บ้านหัวถนน ดังนั้นจึงได้ย้ายที่ตั้งกิ่งอำเภอมาที่ตลาดสะเดา และได้ตั้งชื่อใหม่เป็นอำเภอสะเดาจนปัจจุบันนี้และได้ประกาศเขตตำบลปริกเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอสะเดา
-
วิสัยทัศน์การพัฒนา “ ปริก สะอาดก้าวไกล สร้างสรรค์สังคมให้มั่นคง ปลอดภัย เป็นตำบลน่าอยู่อย่างยั่งยืน ” พันธกิจการพัฒนาท้องถิ่น 1. ปรับปรุงและพัฒนาระบบสาธารณูปโภคให้ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการ 2. จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนา 3. ปรับปรุงและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 4. ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน 5. ส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มอาชีพต่างๆ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน 6. ปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี ตลอดจนความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 7. ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและสาธารณสุขตลอดจนอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันดี จุดมุ่งหมาย 1. พัฒนาปรับปรุงเส้นทางการคมนาคม ให้มีมาตรฐาน เพื่อรองรับการขยายตัวของหมู่บ้าน 2. ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน และมีไฟฟ้าสาธารณะครอบคลุมทุกหมู่บ้าน 3. พัฒนาปรับปรุงแหล่งน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน 4. ส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุก ๆ ด้าน 5. ส่งเสริมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีความเป็นเลิศด้านพัฒนาการเด็ก 6. ส่งเสริม สนับสนุน การจัดระเบียบชุมชน สังคมและการรักษาความสงบเรียบร้อย 7. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวชุมชนและสังคม 8. ส่งเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน 9. ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม 10. ส่งเสริมสนับสนุน กิจกรรมด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีของท้องถิ่นภูมิปัญญาท้องถิ่น 11. เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ อบต.ให้สามารถบริการประชาชนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึงโดยยึดหลักการบริหารจัดการที่ดี